เป็นข่าวดีของแม่ยก น้องสกาย ลูกแม่ใจเริงกันจริงๆ ค่ะ ที่วันนี้มีอัพเดทอาการล่าสุดว่าน้องพ้นขีดอันตรายแล้ว มาอัพเดทอาการของน้อง พร้อมทั้งทำความรู้จักเจ้าโรคนี้กันดีกว่า
น้องสกาย พ้นขีดอันตรายแล้ว!
หลังจากทำการผ่าตัดที่บริเวณกระดูกสันหลังแล้ว และผ่านการให้คีโมแล้ว ล่าสุดอาการของน้องดีขึ้นตามลำดับ เริ่มสดใสขึ้น ทานอาหารเองได้ บอกเมนูที่ชอบได้ เรียกได้ว่าพ้นขีดอันตรายแล้ว และอาการดีขึ้นตามลำดับ ตาซ้ายที่เคบวมก็ยุบลงแล้ว ทางบ้านของน้องบอกว่า แม้จะอยู่ในช่วงเฝ้าระวัง แต่ก็ถือว่าผลการรักษาเป็นที่น่าพอใจมาก
หลังจากนี้ก็ทำการรักษาตามวิธีของแพทย์อย่างใกล้ชิด ซึ่งทางคุณแม่และญาติของน้องสกายก็ขอบคุณทุกกำลังใจ และเงินช่วยเหลือที่เหล่าแฟนคลับส่งมาให้ รวมทั้งทีมผู้จัดและนักแสดงจากละครเพลิงบุญ จากนี้ก็ขอให้น้องหายเป็นปกติเร็วๆ นะคะ
รู้จักมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองนี่น่ากลัวนะคะ เพราะต่อมน้ำเหลืองมีอยู่ทั่วร่างกาย เช่น ที่บริเวณลำคอ รักแร้ ขาหนีบ ข้อพับแขน ข้อพับขา ในช่องอก และในช่องท้อง และนอกจากในต่อมน้ำเหลืองแล้ว เซลล์ต่อมน้ำเหลืองยังมีกระจายอยู่ในเยื่อบุภายในอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกายอีกด้วย เช่น ในสมอง โพรงจมูก ไซนัส กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ผิวหนัง และกระดูก และพบได้ทุกช่วงวัย
สาเหตุของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง แต่พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง เช่น
- การติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น การติดเชื้อไวรัสเอชทีแอลวี, การติดเชื้อไวรัส HIV ที่เป็นสาเหตุของโรคเอดส์, การติดเชื้อไวรัส EBV ของทางเดินหายใจ เป็นต้น
- การติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด เช่น เชื้อเอชไพโลไรที่ทำให้เกิดกระเพาะอาหารอักเสบ
- การมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น โรคเอดส์, โรคไขข้ออักเสบ, การกินยากดภูมิคุ้มกันในการรักษาโรคโดยการปลูกถ่ายอวัยวะ (เช่น ปลูกถ่ายไต) เป็นต้น
- เป็นโรคภูมิแพ้ตนเองบางชนิด เช่น โรคต่อมไทรอยด์อักเสบชนิดไม่ติดเชื้อ
- ปัจจัยทางพันธุกรรม
- การสัมผัสวัตถุทางเคมีที่เป็นสารก่อมะเร็ง เช่น การสัมผัสยาฆ่าแมลง น้ำยาย้อมผม เป็นต้น
- อาจเกิดจากสิ่งแวดล้อม เพราะพบโรคนี้ได้สูงกว่าในคนที่มีอาชีพเกษตรกรรม
- การกินอาหารพวกโปรตีนและไขมันสูง
ภาวะแทรกซ้อนของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
- ภาวะแทรกซ้อนที่มักเกิดจากการที่มีก้อนของมะเร็งไปกดหรือทำลายอวัยวะต่างๆ เช่น ทำให้เกิดภาวะอุดกั้นของระบบไหลเวียนเลือดหรือน้ำเหลือง ทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร ทางเดินปัสสาวะ (อาจทำให้เกิดภาวะไตวายตามมาได้) เป็นต้น
- ถ้ามะเร็งลุกลามเข้าไขกระดูก ร่างกายจะสร้างเม็ดเลือดทุกชนิดไม่ได้ ทำให้เกิดภาวะซีด เลือดออกง่าย และติดเชื้อได้ง่าย ซึ่งอาจรุนแรงจนเกิดภาวะโลหิตเป็นพิษได้
- ถ้ามะเร็งลุกลามเข้าสมอง ไขสันหลัง หรือกดเส้นประสาทสันหลัง จะทำให้แขนขาชาหรืออ่อนแรง
- ถ้ามีก้อนมะเร็งที่กระเพาะอาหาร นอกจากจะเกิดภาวะกระอาหารอุดกั้นแล้ว ยังอาจทำให้มีเลือดออกได้ด้วย (อาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายอุจจาระดำ)
แต่มะเร็งชนิดนี้หายได้หากทำการรักษาอย่างถูกวิธีทางการแพทย์ เฝ้าติดตามอาการอย่างใกล้ชิด และทำการปลูกถ่ายไขกระดูก รวมถึงต้องดูแลรักษาร่างกายให้ดีๆ พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียด และทานอาหารที่มีประโยชน์ค่ะ ขอเป็นกำลังใจให้ผู้ป่วยมะเร็งทุกคนนะคะ
ข้อมูลจาก www.dailynews.co.th และ medthai.com
ภาพจาก @tarit_sky
TEXT : Ploychompoo
เรื่องราวที่น่าสนใจอื่นๆ
อัพเดตอาการน้องสกาย ลูกแม่ใจเริง เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
ดูละครแล้วย้อนดูตัว ใจเริง สอนอะไรเราได้บ้าง
วีรกรรมสุดพีคของ คุณหนูใจเริง จากเพลิงบุญ
The post น้องสกาย พ้นขีดอันตรายแล้ว! มาทำความรู้จักโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองกัน appeared first on SUDSAPDA.COM.