‘ ฮันรยูวูด ’ คำนี้มีที่มา! หลังวงการหนังเกาหลีเติบโตแบบก้าวกระโดด!
อเมริกามีฮอลลีวูด อินเดียมีบอลลีวูด อีกหนึ่งประเทศที่วงการหนังก้าวไปไกลแบบก้าวกระโดดและรักการดูหนังของชาติตัวเองม้ากมาก คงหนีไม่พ้นเกาหลีใต้ ประเทศที่มีส่วนแบ่งในตลาดภาพยนตร์โลกเป็นอันดับ 6 จากทั้งหมด 21 ประเทศ (ข้อมูลปี 2017) จนส่ง Along With The God ถล่ม Box Office เกาหลี หลังเปิดตัว 24 ชั่วโมงแรกแซงหน้า Avengers: Infinity War ไปแล้วเรียบร้อยแต่กว่าจะมีวันนี้ เขาก็ผ่านมาเยอะเจ็บมาเยอะเหมือนกันนะ
Image may be NSFW.
Clik here to view.
Image may be NSFW.
Clik here to view.
Image may be NSFW.
Clik here to view.
ถ้าพูดถึงคำว่า ‘ฮันรยูวูด’ บางคนอาจไม่ค่อยคุ้นเท่าไร แต่คำนี้ถูกใช้อย่างแพร่หลายในสื่อต่างๆ ของสหรัฐอเมริกา เริ่มจาก CNN เพื่อใช้อธิบายถึงวงการหนังเกาหลี ซึ่งเป็นหนึ่งในสามศูนย์กลางอุตสาหกรรมบันเทิงชื่อดังของโลก รองจากฮอลลีวูด และบอลลีวูด ‘ฮันรยูวูด’มาจากการรวมคำว่า ฮันรยู (한류) ที่แปลว่า กระแสเกาหลี กับ ฮอลลีวูด (Hollywood) ที่เป็นแหล่งประวัติศาสตร์ของโรงถ่ายทำภาพยนตร์แห่งอเมริกาที่เกาหลียังมีถนนฮันรยูวูด วอล์ก ออฟ เฟม (Hallyuwood Walk of Fame) ตั้งอยู่ในย่านคังนัม ซึ่งคล้ายๆ กับถนนฮอลลีวูดวอล์กออฟเฟม (Hollywood Walk of Fame) อันโด่งดังในเขตฮอลลีวูด ของนครลอสแอนเจลิส เห็นแบบนี้บางคนคิดว่าเกาหลี ‘เลียนแบบเก่ง’ แต่…แต่…แต่! หากมองให้ดีแล้ว เกาหลียัง ‘เรียนรู้เก่ง’ อีกด้วย
Clik here to view.

1.เรียนรู้จากประวัติศาสตร์
เกาหลีภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น (1910-1945) หนังเกาหลีเรื่องแรกคือเรื่อง The Righteous Revenge (1919) ช่วงนั้นเกาหลียังไม่แบ่งเหนือ-ใต้จะทำอะไรทีก็ต้องขออนุญาตพี่โกโบริ แน่นอนว่าคุณพี่เขาคุมเข้มมาก อย่าเรียกว่าหนังเกาหลีเลย เรียกหนังญี่ปุ่นเถอะ =_= จนกระทั่งสิ้นสุดสงครามเกาหลีค.ศ. 1953 คนเกาหลีได้ปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์เต็มที่เปิดรับเทคโนโลยีและอุปกรณ์การถ่ายทำจากต่างประเทศทำให้วงการหนังเฟื่องฟูขึ้นมาหนังเรื่อง ชุนฮยางจอน (Chun Hyang-Jon) หรือ ตำนานรักโรมิโอจูเลียตฉบับเกาหลี กลายเป็นหนังบล็อกบัสเตอร์ (ภาพยนตร์ที่มีคนดูเป็นจำนวนมาก) เรื่องแรกของเกาหลีโดยมีคนดูถึง 200,000 คน นอกจากนั้น The Housemaid (1960) ยังเป็นหนึ่งในสามหนังดีตลอดกาลของเกาหลีอีกด้วย
Clik here to view.

Clik here to view.

Clik here to view.

กำลังไปได้สวยแท้ๆ ดันมาสะดุดเมื่อนายพลพัคจุงฮีก่อรัฐประหาร (1973–1979) ทำให้หนังเกาหลีเข้าสู่ยุคมืด รัฐบาลชุดนี้เซ็นเซอร์ไม่แพ้ญี่ปุ่น ทั้งให้ทำหนังเกี่ยวกับคอมมิวนิสต์และมีเนื้อหาส่อไปในทางอนาจารได้ (แบบนี้ก็ได้เหรอ) ลดการฉายหนังต่างประเทศหนังมีแต่เรื่องซ้ำซาก แทบไม่มีใครดูหนังโรง-_-
Clik here to view.

จนกระทั่งนายพลพัคจากไป ตั้งแต่ปี 1984เป็นต้นมา รัฐบาลประชาธิปไตยเปิดกว้างให้วงการหนังมากขึ้น เป็นช่วงพลิกฟื้นอุตสาหกรรมหนังเกาหลีอย่างแท้จริงเปิดรับหนังต่างประเทศและส่งหนังเกาหลีไปไฟท์ในตลาดโลกเรื่อง Mandala (1981) ได้รับรางวัลกรังด์ปรีซ์ จาก 1981 Hawaii Film Festival และ Gilsoddeum (1986) ได้ฉายเปิดงาน 36th Berlin International Film
Clik here to view.

Clik here to view.

2.เรียนรู้การบังคับใช้ Screen Quota
แม้จะแก้ไขกฎหมายควบคุมภาพยนตร์แต่ดูเหมือนคนเกาหลีจะนิยมหนังต่างประเทศมากกว่าหนังชาติตัวเอง ด้วยความที่หนังต่างประเทศ โดยเฉพาะหนังฮอลลีวูดนั้นก้าวล้ำไปไกลแล้ว คนเราย่อมอยากดูของแปลกใหม่ ตัวอย่างชัดเจนคือในค.ศ. 1985 ส่วนแบ่งหนังต่างประเทศทำรายได้ 60% หนังเกาหลีใต้ 40% แต่ 8 ปีต่อมาส่วนแบ่งดังกล่าวได้เปลี่ยนแปลงเป็น 84% ต่อ 16% แสดงให้เห็นถึงความตกต่ำของวงการหนังเกาหลีอีกครั้ง กระทั่งค.ศ. 1993 รัฐบาลเกาหลีจึงบังคับใช้ screen quota (กำหนดปริมาณการฉาย) เป็นครั้งแรกโดยบังคับให้โรงหนังต้องฉายหนังเกาหลีจำนวนขั้นต่ำ 146 วันต่อปีและมีผลมาจนถึงปัจจุบันนี้
Clik here to view.

Clik here to view.

3.เรียนรู้การลงทุนสร้างหนังโดยกลุ่มธุรกิจที่มีอิทธิพล
ใครเล่าจะเงินหนาเท่านักธุรกิจ ในช่วงค.ศ. 1992 กลุ่มแชโบล (ซัมซุง, แดวู, ฮุนได) สนใจลงทุนผลิตหนัง เรื่องแรกที่ผลิตโดยกลุ่มแชโบลคือเรื่อง Marriage Story (1992) จากบริษัทซัมซุง แต่เมื่อเกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง ค.ศ. 1997 กลุ่มแชโบลได้หันไปโฟกัสธุรกิจตัวเองเพียงอย่างเดียว
Clik here to view.

กลุ่มนายทุนหน้าใหม่เข้ามาแทนที่ คือCJ, Orion, และLotte โดยอาศัยการฟื้นฟูตั้งแต่รากฐานและให้โอกาสผู้กำกับหน้าใหม่ ภาพยนตร์เรื่อง Shiri ซึ่งทุ่มทุนสร้างประมาณ 120 ล้านบาทและประสบผลสำเร็จเป็นอย่างมากสร้างรายได้เฉพาะภายในประเทศเป็นเงินมากถึง800 ล้านบาทกลายเป็นหนังบล็อกบัสเตอร์เรื่องแรกหลังเผชิญวิกฤตต้มยำกุ้ง
Clik here to view.

ตามมาด้วย Joint Security Area (2000) ของผู้กำกับชื่อดังพัคชางวุก, My Sassy Girl (2001) และ Taegukgi (2004)
Clik here to view.

Clik here to view.

Clik here to view.

4.เรียนรู้การสนับสนุนจากรัฐบาล
รัฐบาลเกาหลีใต้ตั้งสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งเกาหลี (Korean Film Council) ขึ้นมาเพื่อสนับสนุนวงการหนังเกาหลีอย่างครบวงจร ทั้งพิจารณาเงินทุน, สนับสนุนการวิจัยการศึกษาและช่วยเหลือโรงฉายหนังนอกกระแสให้อยู่รอด จัดเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซานที่สำคัญคือเสนอให้เกาหลีใต้เป็นโลเคชั่นถ่ายทำภาพยนตร์ของโลก
Image may be NSFW.
Clik here to view.
Clik here to view.

ตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา รัฐบาลผลักดันการฉายหนังเกาหลีในต่างประเทศและได้รับความสนใจจากทั่วโลก เมื่อเรื่อง Oldboy ชนะรางวัลกรังด์ปรีซ์จาก 2004 Cannes Film Festival จน เควนตินแทแรนติโน และสไปค์ลี ผู้กำกับชื่อดังชาวอเมริกันยังต้องขอสร้างฉบับรีเมคนอกจากนี้การที่เกาหลีเป็นประชาธิปไตยสูง ทำให้คนทำหนัง‘กล้า’ สร้างสรรค์ผลงาน ทั้งหนังตีแผ่ด้านมืดของสังคม อย่าง นูริเก ซึ่งดัดแปลงจากชีวิตจริงของจางจายอนดาราสาวที่ฆ่าตัวตายเมื่อปี 2009 หลังถูกบริษัทต้นสังกัดบังคับให้ร่วมเตียงกับผู้มีอำนาจ หนังตีแผ่นักการเมืองฉ้อฉล อย่าง The Inside Men หรือหนังตีแผ่รัฐบาลที่ไร้ความรับผิดชอบใน Train to Busan
Clik here to view.

Clik here to view.

Clik here to view.

Clik here to view.

5.เรียนรู้การฉายหนังโรงควบคู่กับดูออนไลน์
อย่าหวังจะได้ดูหนังซูมในเว็บเถื่อนเกาหลีเชียว อย่างที่รู้กันว่าเกาหลีขึ้นชื่อเรื่องเน็ตแร๊งธุรกิจออนไลน์ในบ้านเขาจึงเติบโตมากๆอย่าง IPTV (ดูโทรทัศน์ทางอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแทนสัญญาณภาพและคลื่นความถี่) และ VOD (ระบบการเรียกดูภาพยนตร์ตามสั่ง) เป็นช่องทางจำหน่ายหนังออนไลน์โดยจำหน่ายพร้อมกับฉายโรงหรือช้ากว่าหนึ่งเดือน แต่เฉพาะบางเรื่องเท่านั้นนะ
Image may be NSFW.
Clik here to view.
บางคนคิดว่าแบบนี้ใครจะไปดูหนังโรงให้เสียเวลา นอนดูอยู่บ้านไม่ดีกว่าเหรอก็คงดีกว่าค่ะ ถ้าบ้านคุณอลังการเหมือนโรงหนังที่เกาหลีอะนะ -..- เพราะเขาไปไกลเกินกว่าคำว่า 3D 4D แล้ว มีทั้ง Drive M นั่งในรถส่วนตัวเหมือนดูหนังกลางแปลง ดูจากห้องสุดหรูอย่าง Balcony M ที่นั่งคู่รักหรือคนโสดก็จัดให้หมดเทคโนโลยีก็ไม่ได้มาเล่นๆเช่นโรงหนังรูปแบบใหม่ของ CGV ที่เรียกว่า Screen X ความพิเศษอยู่ตรงมีหน้าจอสามทิศ
Image may be NSFW.
Clik here to view.
Image may be NSFW.
Clik here to view.
ถึงตรงนี้หลายคนคงถึงบางอ้อ ว่าทำไมหลายครั้งถึงมีคนเกาหลีประเทศเกาหลี หรือวัฒนธรรมเกาหลีสอดแทรกอยู่ในหนังดังของฮอลลีวูดหลายๆ เรื่อง แถมยังชอบไปโปรโมตที่เกาหลีกันจริงจริ๊งโดยเฉพาะหนังจากจักรวาลมาร์เวล ก็เกาหลีเขาเล่นวางกลยุทธ์ดันหนังชาติตัวเองขนาดนี้ ถ้าไม่อวยเกาหลีเข้าไว้ หนังฮอลลีวูดได้มีกำไรหดหายบ้างล่ะสำหรับวงการหนังไทย เรียนรู้จากเกาหลีไว้ก็ไม่เสียหายเนอะ
Image may be NSFW.
Clik here to view.
Text: ดาโซ
Photo: Surya – Tribunnews.com /pop.heraldcorp.com /Korean Dramaland / Taipei Film Awards/ Variety / The Story Begins / cityonfire.com / Wikipedia / Fiveprime / namuwiki /dureraum.org
เรื่องราวสาระของวงการบันเทิงเกาหลีที่ต้องรู้ถ้าไม่อยากเอ้าท์! ตามต่อยาวๆ ที่นี่ #เรื่องเผือกเลือกสุดฯ
เก็บหลักฐาน! คนดังไทยใครเป็นติ่ง ลิซ่า BLACKPINK บ้างนะ
หลากหลายบทบาท พิสูจน์ความสามารถด้านการแสดงของ ดีโอ EXO
สงครามคอนเทนต์! ความสำเร็จของ tvN & JTBC สองช่องเคเบิลที่มาแรงที่สุดในเกาหลี
The post อยู่ที่เรียนรู้! กว่าจะมี ‘ ฮันรยูวูด ’ วงการหนังเกาหลีที่ฮอลลีวูดยังต้องสะเทือน appeared first on SUDSAPDA (สุดสัปดาห์) - TREND LIFESTYLE AND INSPIRATION.