Quantcast
Channel: ดารา – SUDSAPDA (สุดสัปดาห์) – TREND LIFESTYLE AND INSPIRATION
Viewing all articles
Browse latest Browse all 5118

10 มหาวิทยาลัย ชื่อพระราชทานที่หลายคนอาจยังไม่รู้ จาก ในหลวงร.9

$
0
0
เชื่อว่าผู้อ่านจำนวนไม่น้อย อาจไม่ทราบว่า มหาวิทยาลัย ที่ตนเองกำลังศึกษาเล่าเรียนหรือสำเร็จการศึกษามายาวนานแล้วนั้น มีประวัติความเป็นมาที่เกี่ยวกับ ในหลวงร. 9
ที่มาของชื่อ มหาวิทยาลัย ได้รับพระราชทานชื่อจาก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในหลวงร. 9 อยากรู้ว่ามีที่ใดบ้าง เรามีคำตอบ…
  1. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (พ.ศ. 2510)

    ในหลวงร.9

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในหลวงร. 9  ได้มีพระบรมราชโองการประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยแห่งแรกในภาคใต้ของประเทศไทย และได้พระราชทานชื่อมหาวิทยาลัยว่า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตามพระนามฐานันดรศักดิ์ของสมเด็จพระบรมราชชนก กรมหลวงสงขลานครินทร์ โดยมีคณะคณะศึกษาศาสตร์และคณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นคณะแรกตั้ง และนับเป็นมหาวิทยาลัยแบบหลายวิทยาเขตแห่งแรกของไทยที่เป็นระบบหลายวิทยาเขตตั้งแต่แรกเริ่มก่อตั้ง โดยมีวิทยาเขตแห่งแรกที่ ปัตตานี ตามด้วย หาดใหญ่ ภูเก็ต สุราษฏร์ธานี และตรัง

 

  1. มหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ. 2512)

ในหลวงร.9

เป็นสถาบันที่มีที่มาจากการเป็นโรงเรียนแพทย์ ณ โรงพยาบาลศิริราช ชื่อว่า โรงเรียนแพทยากร ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2432 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากนั้นในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 จึงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 ในหลวงร. 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม มหิดล อันเป็นพระนามของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ใช้แทนชื่อมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยมหิดล

 

  1. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (พ.ศ. 2514)

ในหลวงร.9

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พ.ศ. 2514 โดยได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานนามอันศักดิ์สิทธิ์ และเป็นมงคลยิ่งว่า สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ตามพระบรมนามาภิไธยแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และ ทรงพระมหากรุณาธิคุณมีพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระตรา พระมหามงกุฎมาเป็นสัญลักษณ์แห่งสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าด้วย

 

  1. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (พ.ศ. 2517)

ในหลวงร.9

ในปี พ.ศ. 2516 ก่อนหน้า เหตุการณ์ 14 ตุลา ท่ามกลางการปกครองที่เข้มงวดรุนแรงของรัฐบาลทหารในขณะนั้น เพื่อความคล่องตัวในการพัฒนาโครงสร้าง การบริหาร และการเรียนการสอนที่จำกัด ไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยและการขยายตัวที่มีความหลากหลายวิชาชีพ ท้ายที่สุดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้สถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2517 โดยนามของมหาวิทยาลัย ได้รับพระราชทานนามจาก ในหลวงร. 9  ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ เมื่อ 6 มีนาคม พ.ศ. 2517 โดยพระราชทานเพียงชื่อเต็มและความหมายของชื่อดังกล่าว

 

  1. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (พ.ศ. 2521)

ในหลวงร.9

มีการสถาปนาสถาบันอุดมศึกษาของรัฐแบบไม่จำกัดรับแห่งที่ 2 ของประเทศ โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  พระราชทานนามว่า มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ตามพระนามเดิมของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศ เป็น กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้พระราชลัญจกรในรัชกาลที่ 7 ซึ่งเป็นรูปพระแสงศรสามองค์ นำมาประกอบกับเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของ กรุงสุโขทัย เป็นตราประจำมหาวิทยาลัย

 

  1. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (พ.ศ. 2531)

ในหลวงร.9

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เป็นระบบมหาวิทยาลัยของรัฐในประเทศไทย สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ปัจจุบันมีอยู่ 9 แห่งทั่วประเทศ ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2518 ในชื่อ วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2531 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ว่า สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และได้ยกสถานะเป็นมหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548

 

  1. มหาวิทยาลัยนเรศวร (พ.ศ. 2533)

ในหลวงร.9

มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ ตั้งอยู่ในจังหวัดพิษณุโลก ก่อตั้งเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 ภายหลังจากการยกฐานะขึ้นจากวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยชื่อ มหาวิทยาลัยนเรศวร นั้น ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  เพื่อสดุดีและเฉลิมพระเกียรติแด่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช วีรกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา เนื่องด้วยพระองค์ประสูติที่เมืองพิษณุโลก และทรงเคยดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลกมาก่อน

 

  1. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (พ.ศ. 2535)

ในหลวงร.9

ในปี พ.ศ. 2510 ชาวนครศรีธรรมราช เริ่มรณรงค์เรียกร้องให้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยในจังหวัดนครศรีธรรมราช จนกระทั่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2531 ให้จัดตั้งวิทยาลัยนครศรีธรรมราช สังกัด มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และอนุมัติให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2534 จากนั้นในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และพระราชทานชื่อว่า มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อันเป็นสร้อยพระนามในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี

 

  1. มหาวิทยาลัยราชภัฏ (พ.ศ. 2535)

ในหลวงร.9

มหาวิทยาลัยราชภัฏ เป็นกลุ่มมหาวิทยาลัยที่พัฒนามาจากโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ที่ตั้งอยู่ในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคของประเทศ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น วิทยาลัยครู หลังจากนั้น ได้รับพระราชทานนาม ราชภัฏ จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ให้เป็นชื่อประจำสถาบัน พร้อมทั้ง พระราชทาน พระราชลัญจกรเป็นตราประจำมหาวิทยาลัย โดยในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยราชภัฏ มีอยู่ทั้งสิ้น 38 แห่ง ทั่วประเทศ

 

10 . มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช (พ.ศ. 2553)

ในหลวงร.9

มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช (เดิมชื่อ มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร) เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของกรุงเทพมหานคร ก่อตั้งขึ้นวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 จากนั้น หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในสมัยต่อมา ได้ขอพระราชทานนามมหาวิทยาลัยว่า มหาวิทยาลัยภูมิพล เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2552 และต่อมาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามมหาวิทยาลัยว่า มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2554 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2556

นับเป็นเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดไม่ได้แก่พสกนิกรชาวไทยจริงๆ

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก   Apisit Kaewprasert,  teenmthai, sanook

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

คนดังที่พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ประทานชุด งดงามไร้ที่ติ

ตามรอยเครื่องเสวย ณ หัวหิน 8 ร้านอร่อยที่ ในหลวงรัชกาลที่ 9 และพระราชินีทรงโปรด

พระเมรุมาศ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ความวิจิตรที่คนไทยต้องไปชม

 

The post 10 มหาวิทยาลัย ชื่อพระราชทานที่หลายคนอาจยังไม่รู้ จาก ในหลวงร.9 appeared first on SUDSAPDA.COM.


Viewing all articles
Browse latest Browse all 5118

Trending Articles



<script src="https://jsc.adskeeper.com/r/s/rssing.com.1596347.js" async> </script>