รู้หรือไม่ว่า ถนนมากมายหลายเส้นทางที่เราใช้อยู่ในทุกวันนี้เป็น ถนนโครงการพระราชดำริ ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ด้วยพระปรีชาสามารถและมองการไกล จึงทำให้ประชาชนมีถนนใช้เดินทางอย่างสะดวกสบาย และบรรเทารถติดได้อย่างทุกวันนี้
ถนนห้วยมงคลต้นกำเนิดของ ถนนโครงการพระราชดำริ
ปีพ.ศ.2495 หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงขึ้นครองราชย์ไม่นาน พระองค์
ในหลวงทรงสอบถามชาวบ้านที่เข้ามาช่วยดันรถพ
ด้วยเหตุนี้ ตำรวจพลร่มจำนวนหนึ่งจึงได้นำรถบูลโดเซอร์ (Bulldozer) พระราชทานมาทำการเกลี่ยพื้น
“……อนุสาวรีย์อย่าเพิ่งสร้าง สร้างถนนดีกว่า สร้างถนนเรียกว่า วงแหวน เพราะมันเป็นความฝัน เป็นความฝันมาตั้งนานแล้ว….”
พระราชดำรัสเนื่องในมหามงคลสมัย พระราชพิธีรัชดาภิเษก ครองสิริราชสมบัติครบ 25 ปี
1.ถนนรัชดาภิเษกและถนนอุตราภิมุข และทางยกระดับถนนพหลโยธิน ช่วงดินแดง-ดอนเมือง-หลักสี่-อนุสรณ์สถานรังสิต
ถนนรัชดาภิเษกและถนนอุตราภิมุข ถนนรัชดาภิเษกที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ เกิดจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงห่วงใยชาวกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่จะต้องประสบปัญหาการจราจร ทรงมีรับสั่งให้คณะรัฐมนตรีดำเนินการกับวงแหวน 3 สายล้อมรอบบริเวณที่ดินทั้ง 2 ฝั่งน้ำเจ้าพระยา โดยมีสะพานเชื่อมสองฝั่งแม่น้ำ
- ถนนวงแหวนรอบในส่วนมากมีเส้นทางเดิมอยู่แล้ว มีทางเลียบสองฝั่งแม่น้ำ ที่สะพานพระพุทธยอดฟ้าฯ กับสะพานที่ปลายถนนสาทร
- ถนนวงแหวนรอบกลางมีเส้นทางเดิมอยู่ 6-8 กิโลเมตร มีทางเชื่อม 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ที่สะพานพระราม 6 กับสะพานกรุงเทพฯ
- และจะต้องสร้างทางเส้นใหม่ขึ้นเป็นทางยาวไม่น้อยกว่า 36 กิโลเมตรจึงจะทำให้ถนนนี้ครบวง จะช่วยแก้ปัญหาการจราจรได้มาก
2. ทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรมราชชนนี
เนื่องจากปริมาณการจราจรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะจากเชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า จนถึงทางแยกสิรินธร ทำให้ช่องทางการจราจรที่มีอยู่ 8 ช่องทาง ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้พื้นที่ถนนที่เพิ่มขึ้น วิธีการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จะต้องเพิ่มพื้นผิวการจราจรให้มากขึ้น การเพิ่มพื้นที่จราจรด้วยการสร้างทางยกระดับขึ้นช่วงหนึ่ง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับการจราจรได้มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน โครงการฯ นี้เป็นโครงการหนึ่งซึ่งสนองพระบรมราโชบาย ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระมหากรุณาคุณให้พสกนิกร เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรที่ติดขัด
3. ถนนวงแหวนกาญจนาภิเษก (ถนนวงแหวนรอบนอกด้านใต้) จังหวัดสมุทรปราการ
ถนนกาญจนาภิเษกสร้างขึ้นเพื่อ แก้ปัญหาการจราจรที่ติดขัด ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่มีปริมาณการจราจรและการขนส่งเพิ่มขึ้น อันเป็นผลจากความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และเป็นทางเลี่ยงเมืองกรุงเทพมหานคร ที่เป็นตัวเชื่อมทางสายหลักเข้าไปสู่ทุกภาคของประเทศ
โดยกระทรวงคมนาคม ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตอัญเชิญชื่อ พระราชพิธีกาญจนาภิเษก เป็นชื่อทางหลวงวงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ด้านใต้ว่า “ถนนกาญจนาภิเษก” และได้เปลี่ยนหมายเลขทางสายดังกล่าว จากหมายเลข 37 เป็นหมายเลข 9 เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ และจัดเข้าเป็นระบบทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง
4.ถนนวงแหวนอุตสาหกรรม
โครงการถนนวงแหวนอุตสาหกรรม เป็นวงแหวนรอบเล็กตามแนวพระราชดำริ ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานแนวทางไว้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2538 เพื่อเป็นโครงข่ายถนนรองรับการขนส่ง และลำเลียงสินค้าจากท่าเรือกรุงเทพ ต่อเนื่องไปถึงพื้นที่อุตสาหกรรม ในจังหวัดสมุทรปราการและพื้นที่อื่นๆ ของประเทศ เพื่อไม่ให้รถบรรทุกขนาดใหญ่ เข้าไปในตัวเมืองหรือทิศทางอื่น อันเป็นสาเหตุของการจราจรติดขัดโดยรอบ ซึ่งช่วยแก้ปัญหาการจราจรบริเวณถนนพระราม 9 และต่อเชื่อมกับ ถนนเอกมัย – รามอินทรา ทำให้โครงข่ายจราจรคล่องตัวขึ้น
5. ถนนชุมชนบึงพระราม 9 เชื่อมระหว่างถนนพระราม 9 ถนนประชาอุทิศ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานพระราชดำริให้กรุงเทพมหานคร ก่อสร้างถนนและปรับปรุงชุมชนพระราม 9 (หน้าศูนย์แพทย์พัฒนา) เพื่อเชื่อมเส้นทางระหว่างถนนพระราม 9 กับถนนประชาอุทิศตามแนวซอยโรงเรียนไทย-ญี่ปุ่น กับซอยจำเนียรเสริม
6. ถนนเชื่อมระหว่างถนนพระราม 9 กับถนนเทียมร่วมมิตร
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระราชดำริให้กรุงเทพมหานครดำเนินการก่อสร้างถนนเชื่อมระหว่างถนนพระราม 9 กับถนนเทียมร่วมมิตร เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจร บริเวณถนนรัชดาภิเษก และถนนพระราม 9 โดยสร้างถนนเพื่อเป็นทางลัด ในพื้นที่ซึ่งเดิมเคยรกร้างว่างเปล่า ด้านข้างศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยข้างกรมการผังเมือง บนที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย การเดินทางของประชาชนได้รับความสะดวกและลดระยะการเดินทางระหว่างถนนเทียมร่วมมิตรกับถนนพระราม 9 โดยไม่ต้องผ่านแยก อ.ส.ม.ท
7. สะพานจตุรทิศตะวันออก
ถือเป็นโครงข่ายที่สำคัญ และเป็นโครงข่ายใหญ่มีการก่อสร้างถนน และสะพานเชื่อมโครงการย่อยๆ ปลายโครงการเข้าด้วยกัน เพื่ออำนวยความสะดวกรวดเร็วในการเดินทาง ระหว่างฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานคร และบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัด รวมไปถึงถนนเชื่อมต่อสายอื่น ได้แก่ ถนนราชดำเนินนอก ถนนศรีอยุธยา ถนนสวรรคโลก ถนนอโศก-ดินแดง ถนนสุขุมวิท ถนนเพชรบุรี และถนนพระราม 9 การก่อสร้างโครงการ เริ่มต้นจากทิศตะวันตก ต่อเนื่องกับโครงการพระราชดำริทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรมราชชนนีและโครงการพระราม 8 ไปยังทิศตะวันออกของกรุงเทพมหานคร
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ ถนนโครงการพระราชดำริ เท่านั้น เพราะสิ่งที่พระองค์ทรงมีพระราชดำริมากมายเหลือคณานับ เป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้
ขอน้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ และถวายความอาลัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล
ข้อมูลจาก กระทรวงคมนาคม และกรมทางหลวง
The post “มีวันนี้เพราะพ่อให้” ถนนโครงการพระราชดำริ เพื่อความสะดวกของปวงชน appeared first on SUDSAPDA.COM.