3 ฉลองพระบาทลำลอง ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงโปรด จาก 3 ช่วงเวลา
เคยมีผู้กล่าวไว้ว่า “Dressing Well is a Form of Good Manners” การแต่งกายให้ดีงาม เหมาะสมถูกต้องกับกาลเทศะนั้น นอกจากจะเป็นมารยาทสากลแล้ว ยังแสดงถึงการให้เกียรติต่อตนเอง และผู้อื่นด้วย
และหนึ่งในผู้ที่เป็นแบบอย่างชั้นเลิศ ในด้านการแต่งกายได้อย่างงดงาม ตามระเบียบแบบแผน ถูกกาลเทศะ ทั้งยังเหมาะสมในแง่การใช้งาน ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ผู้ทรงเป็นที่รักของปวงชนชาวไทย ไม่ว่าจะทรงงานในท้องถิ่นทุรกันดาร ทรงกีฬาในยามว่าง หรือ เสด็จแปรพระราชฐาน ฉลองพระองค์ และ ฉลองพระบาทลำลอง ล้วนเป็นแบบอย่างของการเลือกใช้ของดี ราคาสมเหตุสมผล และประโยชน์ใช้สอยคุ้มค่า อย่างแท้จริง
และต่อไปนี้คือ เรื่องราวบางส่วน ของฉลองพระบาทลำลอง ที่ทรงโปรด จาก 3 ช่วงเวลา
พ.ศ. 2509-10
เป็นที่ทราบกันดีว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงโปรดกีฬามาตั้งแต่ครั้งทรงพระเยาว์ ขณะที่ประทับอยู่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์นั้น ทรงโปรดกีฬาหลายประเภท เช่น ยิงปืน สกีน้ำแข็ง เทนนิส แบดมินตัน เครื่องร่อน ฯลฯ โดยทรงศึกษากฎ กติกา มารยาท ทั้งยังทรงฝึกฝนจนปฏิบัติได้ดี
และหากเราสังเกตให้ดีจะพบว่า กีฬาที่พระองค์ทรงโปรดนั้น มิได้มุ่งเน้นพละกำลังเพียงอย่างเดียว แต่มักเป็นกีฬาที่อาศัยวินัย ไหวพริบ ตลอดจนเทคนิคในการปฎิบัติจนเป็นผู้รู้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กีฬาเรือใบ ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระปรีชาสามารถ ทั้งในเรื่องการต่อเรือใบ และเล่นเรือ
และจากภาพช่วงซักซ้อม ก่อนพระองค์จะทรงคว้าเหรียญทอง จากการแข่งเรือใบ กีฬาแหลมทอง เมื่อปี พ.ศ. 2509-10 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงฉลองพระบาทลำลอง แคนวาสสีขาว ยี่ห้อ Converse รุ่น Jack Purcell (Vintage) เป็นหนึ่งในความทรงจำที่พสกนิกรประทับใจมาจนทุกวันนี้
รู้หรือไม่ :
ปัจจุบันนี้ รองเท้า Converse ที่ระบุว่า Made in USA จะเป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่นักสะสม เพราะขึ้นชื่อว่าหายาก เนื่องจากคอนเวิร์สได้ย้ายฐานการผลิตจากอเมริกา ไปยังประเทศอื่น ตั้งแต่ปี ค.ศ 2000 เป็นต้นมา (ประเทศผู้ผลิตในปัจจุบัน อาทิ อินโดนีเซีย เวียดนาม และไทย) ดังนั้น Converse Made in USA จึงถือว่าเป็นของวินเทจ มีราคา
ในขณะที่ Converse Made in Japan ก็ได้รับความนิยมเช่นกัน ด้วยเหตุผลที่ร่ำลือกันว่า เป็นโรงงานที่ผลิตได้ดี งานเนี้ยบ งานละเอียดสุด ณ ตอนนี้
(อ่านต่อหน้า 2)
The post ฉลองพระบาทลำลอง 3 รุ่นจาก 3 ช่วงเวลา appeared first on SUDSAPDA.COM.